สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 ธันวาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,947 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,894 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,099 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,090 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.46
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 840 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,010 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 845 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,174 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 164 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,473 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,054 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 419 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,681 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 471 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,261 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 420 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5354 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนธันวาคม 2565 ผลผลิต 503.690 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 515.090 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 2.21
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือน ธันวาคม 2565
มีปริมาณผลผลิต 503.269 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.29 การใช้ในประเทศ 516.912 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.74 การส่งออก/นำเข้า 53.760 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 3.88 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 168.642 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 7.48
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กายานา ไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ปากีสถาน ตุรกี และอุรุกวัย
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป กานา เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน ไอเวอรี่โคสต์อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล ศรีลังกา และเวียดนาม
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ญี่ปุ่น ไนจีเรีย และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน (สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564) เนื่องจากผู้ค้าข้าวต่างเร่งหาอุปทานใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นทั้งตลาดนําเข้าเดิม (จีน ฟิลิปปินส์) และตลาดใหม่ ในขณะที่อุปทานข้าวในประเทศมีปริมาณจํากัด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 448-453 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 445-450 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งราคาข้าวเวียดนามขณะนี้สูงกว่าประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ
วงการค้าคาดว่าผลผลิตข้าวฤดูใหม่ (ฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (winter-spring crop)) ที่กําลังจะมีการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2566 คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวในปริมาณและคุณภาพดีกว่าผลผลิตในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop)
ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤศจิกายน 2565) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วจำนวน 6,671,818 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับจำนวน 5,748,064 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออก อยู่ที่ประมาณ 3,234.874 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.65 เมื่อเทียบกับ 3,033.048 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ประเทศผู้นําเข้าที่สำคัญ ได้แก่ 1. ฟิลิปปินส์ ปริมาณ 2,998,101 ตัน 2. จีน 807,947 ตัน 3. ไอวอรี่โคสต์ 655,593 ตัน 4. กาน่า 431,556 ตัน 5. มาเลเซีย 417,355 ตัน 6. คิวบา 243,824 ตัน 7. สิงคโปร์ 90,473 ตัน
8. อินโดนีเซีย 68,813 ตัน 9. ฮ่องกง 64,031 ตัน 10. ปาปัวนิวกินี 58,857 ตัน เป็นต้น
มีรายงานว่า ในช่วงระหว่างปี 2560-2564 การส่งออกข้าวเวียดนามไปยังตลาดยุโรปเหนือ (the North European) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 73 ต่อปี โดยได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (the European Union-Vietnam Free Trade; EVFTA)
ตามข้อมูลของสำนักงานการค้าเวียดนามในสวีเดน (the Vietnam Trade Office in Sweden) (ซึ่งครอบคลุมประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และลัตเวีย) พบว่า ในปี 2564 ประเทศในยุโรปเหนือซื้อข้าวเวียดนามประมาณ 5,646 ตัน มูลค่าประมาณ 5.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเริ่มมีการเตรียมการเจรจาข้อตกลง EVFTA ที่เริ่มมีผลเมื่อเดือนสิงหาคม 2563
การนําเข้าข้าวจากเวียดนามของสวีเดนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากมูลค่าประมาณ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2562
เป็น 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 ขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวไปยังประเทศนอร์เวย์เพิ่มขึ้นจาก 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561 เป็น 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 และการส่งออกข้าวไปยังเดนมาร์กเพิ่มขึ้นเป็น 394,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564
ตลาดยุโรปเหนือและส่วนอื่นๆ ของยุโรปยังคงมีแนวโน้มที่ดีสำหรับการส่งออกข้าวของเวียดนาม แต่คาดว่า
การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากข้อกําหนดด้านคุณภาพข้าวที่สูงมาก ซึ่งสหภาพยุโรปได้แนะนําแนวทางว่า ผลิตภัณฑ์ที่นําเข้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน สำหรับระดับสารตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Levels) ของปี 2566 - 2568
ซึ่งทั้งประเทศนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปก็ปฏิบัติตามกฎระเบียบนี้ เช่นกัน
นอกจากนี้ หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม (Ministry of Industry and Trade) ได้เสนอให้มีการปรับปรุงระเบียบการจัดการการนําเข้าข้าว โดยเฉพาะการนําเข้าข้าวคุณภาพต่ำจากตลาดต่างประเทศเข้ามานั้น ภาคเอกชนนําโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (The Vietnam Chamber of Commerce and Industry; VCCI) ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ที่จะจํากัดการนําเข้าข้าวคุณภาพต่ำ เพราะอาจจะกระทบกับอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ใช้ข้าวเหล่านี้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
ทั้งนี้ การปรับปรุงระเบียบดังกล่าวในร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการค้าข้าวฉบับที่ 107 (Decree No 107 on rice trade) ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรึกษาหารือ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฯ ได้เสนอให้มีการจัดการการนําเข้าข้าว โดยเฉพาะข้าวคุณภาพต่ำจากต่างประเทศ โดยกระทรวงฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการออกนโยบายบริหารจัดการการนําเข้าข้าวตามเกณฑ์ ปริมาณ มูลค่า ประเภท ตลาดผู้นําเข้า และประตูผ่านแดนนําเข้า ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถออกระเบียบและบริหารการนําเข้าข้าวในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างทันท่วงที
โดยในร่างฉบับแก้ไขดังกล่าว กระทรวงฯ ยังเสนอบทลงโทษที่เข้มงวดขึ้น สำหรับผู้ค้าข้าวที่ไม่จัดทำรายงานประจำไตรมาสและประจำปีเกี่ยวกับการส่งออกและสินค้าคงคลังตามที่กำหนด เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผู้ส่งออกข้าวหลายรายไม่สามารถรายงาน หรือรายงานสัญญาการส่งออกไม่ครบถ้วน รวมทั้งการปฏิบัติตามสัญญาและสินค้าคงคลังประจำไตรมาสและประจำปี ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความยุ่งยากมากมายในการบริหารการส่งออกข้าวของรัฐ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ระบุว่า ร่างดังกล่าวไม่ได้ระบุเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับการประเมินการนําเข้าที่เพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ และไม่ได้ระบุว่ามาตรการใดที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งการใช้มาตรการจํากัดการนําเข้าอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น นําไปสู่การขาดแคลนวัตถุดิบ และลดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเวียดนาม พร้อมทั้งเสนอแนะว่า หากมีการใช้มาตรการจัดการการนําเข้า ควรคำนึงถึงความต้องการของธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตด้วย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า หน่วยงาน Bulog ได้เตรียมที่จะนําเข้าข้าวจำนวน 200,000 ตัน ในเดือนธันวาคม 2565 และอาจจะนําเข้าในส่วนที่เหลือประมาณ 300,000 ตัน ในช่วงต้นปี 2566 หากสต็อกข้าวยังคงมีไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2565 หน่วยงาน Bulog มีสต็อกข้าวอยู่ที่ประมาณ 448,000 ตัน ลดลงจากจำนวน 590,000 ตัน เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ขณะที่สำนักงานอาหารแห่งชาติเตือนว่าสต็อกข้าวอาจจะลดลงสู่ระดับอันตรายที่ประมาณ 342,000 ตัน ภายในสิ้นปี 2565 หากยังไม่มีการเพิ่มอุปทานข้าวเข้าไปในสต็อก
ทางด้านสํานักข่าว Xinhua รายงานโดยอ้างแถลงการณ์จากสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติของอินโดนีเซีย
(The Indonesia Logistics Bureau) หรือ Bulog ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2565 อินโดนีเซียได้เพิ่ม
การนําเข้าข้าวจากเวียดนามปริมาณ 5,000 ตัน ที่ท่าเรือตันจุงปริโอะก์ (the Tanjung Priok Port) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนําเข้าข้าว 200,000 ตัน ภายในสิ้นปี 2565
ปัจจุบันอินโดนีเซียมีแผนนําเข้าข้าวเพิ่มเติมจากไทย ปากีสถาน และเมียนมา เพื่อเติมคลังสํารองข้าวของประเทศ โดยมีเป้าหมายนําเข้าข้าวรวม 500,000 ตัน ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566
นายบูดี วาเซโซ (Budi Waseso) ประธานกรรมการสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติของอินโดนีเซีย (Bulog President Director) กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องนําเข้าข้าวในช่วงนี้ เนื่องจากจะไม่มีการเก็บเกี่ยวข้าวอีกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของปี 2566 ขณะที่ความต้องการข้าวมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปีจากจำนวนประมาณ 30,000 ตันต่อเดือน เป็นประมาณ 170,000 ตันต่อเดือน แต่ปัจจุบันปริมาณข้าวในคลังสํารองของรัฐมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
ข้อมูลจากสำนักงานอาหารแห่งชาติอินโดนีเซีย (Indonesia's National Food Agency (Bapanas)) ระบุว่า สถานการณ์อาหารหลักในประเทศ เช่น ข้าว ถั่วเหลือง และเนื้อวัว มีราคาสูงขึ้น โดยราคาข้าวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.62-0.78 ต่อกิโลกรัม พร้อมทั้งเตือนว่า หากปริมาณข้าวสํารองในประเทศยังไม่เพียงพออาจจะก่อให้เกิดวิกฤติด้านอาหาร หากรัฐบาลยังไม่เพิ่มอุปทานให้เหมาะสม
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียอยู่ในระดับที่เกินเป้าหมายของธนาคารกลางในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอาหารและสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น แม้ว่าอินโดนีเซียจะเริ่มเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแล้วก็ตาม
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา รายงานว่า นาย Yeka Hendra Fatika สมาชิกผู้ตรวจการแผ่นดินของอินโดนีเซีย แสดงความกังวลเกี่ยวกับการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ โดยกล่าวว่ารัฐบาลจำเป็นต้อง
ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัด 12 ข้อ ตามกฎหมายฉบับที่ 18 ปี 2555 ว่าด้วยความสำคัญด้านอาหารเพื่อความรอบคอบ
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการนําเข้าข้าว
จากการประเมินของผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐบาลไม่ปฏิบัติตามตัวชี้วัดทั้ง 12 ข้อ สำหรับแผนที่จะนําเข้าข้าว 500,000 ตัน โดยตัดสินใจจากตัวชี้วัดบางตัวเท่านั้น เช่น การคาดหมายของวิกฤตอาหาร และการขาดสต็อกข้าวสํารองของรัฐบาล (Government Rice Reserves/Cadangan Beras Pemerintah : CPB) ซึ่งบริหารจัดการโดย Bulog
ตัวชี้วัด 12 ข้อ ในกฎหมายดังกล่าว กําหนดให้พิจารณาพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณข้าวเปลือกและศักยภาพ
การผลิตข้าวของประเทศ การประเมินความพร้อมใช้งานของ CBP ตลอดจนความเพียงพอของสต็อกข้าวในครัวเรือน โรงสี และผู้ค้า รวมทั้งตัวชี้วัดอื่นๆ ได้แก่ การบริโภคข้าวต่อหัว การพัฒนาการส่งออกและนําเข้าข้าว เสถียรภาพของราคาข้าว โดยเป้าหมายของ Bulog คือ การดูดซับและกระจายผลิตผลข้าวในประเทศในฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว การดูแลภัยคุกคามต่อการผลิตอาหาร ตลอดจนบริหารภาวะฉุกเฉินด้านอาหารให้มีศักยภาพในช่วงวิกฤต
นาย Tomi Wijaya หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Bulog เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณสํารองข้าวของ Bulog อยู่ที่ประมาณ 503,000 ตัน ซึ่งตํ่ากว่าเป้าที่กำหนดว่าสิ้นปี 2565 ต้องมีข้าวสํารอง 1.2 ล้านตัน เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ รัฐบาลได้อนุญาตให้ Bulog นําเข้าข้าวได้ 500,000 ตัน ซึ่งได้รับการเห็นชอบในการประชุมประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ครั้งล่าสุด ถือเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของอินโดนีเซียในการนําเข้าข้าวปริมาณมาก นับตั้งแต่ปี 2561
อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ตั้งคําถามเกี่ยวกับความแตกต่างของข้อมูลการจัดหาข้าวที่จัดทำโดย National Food Agency (Bapanas), Bulog และกระทรวงเกษตร ซึ่ง Bapanas ระบุว่า CBP ที่จัดการโดย Bulog นั้นตํ่ากว่าระดับสต็อกข้าวที่ปลอดภัยที่ 1.2 ล้านตัน ถึงร้อยละ 50 ขณะที่กระทรวงเกษตรอ้างว่ามีสต็อกข้าวในประเทศเกินดุล
โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและพบว่า ณ วันที่ 6 ธันวาคม ปริมาณสต็อกข้าวทั้งหมดของ Bulog อยู่ที่ 503,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 61 ของ CBP ตรงกับปริมาณที่ Bulog แจ้งไว้ โดย Bulog ประมาณการว่าจะต้องแจกจ่ายข้าวสํารองอีก 200,000 ตัน ในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งจะทำให้สต็อกข้าวลดลงเหลือเพียง 300,000 ตัน ในสิ้นปีนี้
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า ความขัดแย้งเรื่องข้าวซึ่งเกิดจากความแตกต่างของข้อมูลปริมาณสํารองของ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับแผนการนําเข้าข้าวเพื่อสร้างหลักประกันแก่ CBP
ในต้นปี 2564 และตั้งข้อสังเกตว่าความต้องการข้าวของประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 ล้านตันต่อเดือน ในขณะที่ปริมาณข้าว สํารองขั้นตํ่าที่ Bulog ได้รับมอบหมายจากการประชุมประสานงานอยู่ที่ 1.5 ล้านตัน ทำให้ Bulog ต้องเติมเต็มสต็อกข้าวผ่านโครงการต่างๆ โดยปัจจุบันราคาข้าวเปลือกที่โรงสีสูงถึง 6,000 รูเปีย (38 เซนต์สหรัฐ) ถึง 6,300 รูเปียต่อกิโลกรัม ซึ่งภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว Bulog กําลังประสบปัญหาในการจัดหาข้าวในประเทศ เนื่องจากราคาข้าวในตลาดสูงกว่าราคารับซื้อของรัฐบาล แม้ว่าการนําเข้าจะไม่ได้มีผลกระทบในทางลบเสมอไป แต่รัฐบาลจะต้องดูแลให้มีธรรมาภิบาล จากนั้นจึงค่อยทบทวนความจําเป็นของการนําเข้าและอธิบายถึงความจําเป็นในการนําเข้าต่อสาธารณชน โดยรัฐบาลต้องพิจารณาช่วงเวลาของการนําเข้าด้วย และอย่าปล่อยให้ข้าวที่นําเข้ามาถึงอินโดนีเซียในช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวหลักในต้นปี 2566 เพื่อปกป้องผลประโยชน์และสวัสดิภาพของเกษตรกร
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ฟิลิปปินส์
สำนักเลขาธิการประธานาธิบดี (the Office of the Press Secretary) แถลงว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ ดินันด์มาร์กอส จูเนียร์ (President Ferdinand Marcos Jr.) ได้อนุมัติให้มาตรการที่เคยอนุมัติในปี 2564 และจะครบกำหนดในสิ้นปี 2565 ได้รับการต่ออายุให้มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพราะอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ดังนั้น ภาษีนําเข้าข้าวทั้งในโควตาและนอกโควตา (in-quota and out-quota) จะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 35 ภาษีนําเข้าข้าวโพดจะอยู่ที่ร้อยละ 5 (in-quota) และร้อยละ 15 (out-quota) ภาษีนําเข้าผลิตภัณฑ์สุกรจะอยู่ที่ร้อยละ 15 (in-quota) และร้อยละ 25 (out-quota) ส่วนภาษีนําเข้าถ่านหิน (coal) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 0 หลังจากผ่านพ้นสิ้นปี 2566 ไปแล้ว แต่จะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
อัตราอากรขาเข้าตามกรอบทั่วไป MFN (the Most Favored Nation tariff rates) ของสินค้าข้าว ซึ่งใช้เป็นการทั่วไปกับทุกประเทศ จะอยู่ที่อัตราร้อยละ 40 สำหรับปริมาณในโควตา และร้อยละ 50 สำหรับปริมาณนอกโควตา
โดยที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาการและเศรษฐกิจแห่งชาติ (The National Economic and Development Authority; NEDA) ได้แนะนําให้รัฐบาลขยายเวลามาตการดังกล่าว (Executive Order (EO) 171) ออกไปจนถึงสิ้นปี 2566
นายอาร์เซนิโญ บาลิซาแกน รัฐมนตรีวางแผนเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ระบุว่า นโยบายนี้จะช่วยให้ปริมาณ สินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น แหล่งอาหารหลักมีความหลากหลายมากขึ้น และลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาในต่างประเทศที่สูงขึ้น และปริมาณอาหารที่ตึงตัว รัฐบาลจะมุ่งมั่นทำให้เศรษฐกิจประเทศบรรลุเป้าหมายขยายตัวร้อยละ 6-7 ในปี 2566 ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (The Bangko Sentral ng Pilipinas (BSP)) ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 และระยะกลางไว้ที่ร้อยละ 2-4 แต่อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2565 สูงถึงร้อยละ 8 ทำให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 7 ในปีนี้ และเตรียมใช้มาตรการเข้มงวดมากขึ้นในปี 2566 เพื่อดึงเงินเฟ้อให้ลดลงมาถึงระดับเป้าหมาย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 386.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,324.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,981.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 343.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 658.00 เซนต์ (9,051.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 646.00 เซนต์ (8,890.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 161.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 3.29 ล้านตัน (ร้อยละ 9.48 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.62 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.38
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.71 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.45
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.64 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.70 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 251 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,730 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,690 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,900 บาทต่อตัน)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,850 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.000 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.180 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.382 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 27.64 และร้อยละ 27.71 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.33 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.67 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.28
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.05 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.88 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.79
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียได้กล่าวว่าสหภาพยุโรปมีการขัดขวางสินค้าน้ำมันปาล์มไม่ให้เข้าถึงตลาดน้ำมันพืชบริโภคในประเทศ หลังจากที่สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการใหม่ในเรื่องการป้องกันไม่ให้มีการขายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า ซึ่งมาตรการนี้ได้กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตต่างๆ แสดงการตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบในการผลิตต่างๆ โดยมาตรการนี้ได้ปรับใช้กับสินค้าที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ถั่วเหลือง เนื้อวัว น้ำมันปาล์ม ไม้ โกโก้ และกาแฟ มาเลเซียได้กล่าวว่ามาตรการนี้สะท้อนถึงการค้าที่ไม่มีความเสรีและไม่มีความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังส่งกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานน้ำมันทั่วโลก อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปได้ออกมาโต้แย้งเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าทางสหภาพยุโรปไม่ได้มีการห้ามการขายน้ำมันปาล์มแต่อย่างใด แต่ต้องการให้น้ำมันปาล์มที่ผลิตมาไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าและมาจากการปลูกอย่างถูกกฎหมาย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,856.25 ริงกิตมาเลเซีย (30.72 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตัน 3,825.49 ริงกิตมาเลเซีย (30.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.80  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 979.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.24 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 983.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
             ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - เกษตรกรทางตอนใต้ของอินเดียขอให้รัฐบาลปรับลดปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยที่ใช้ประกอบการคำนวณราคาผลตอบแทนยุติธรรม (FRP) จาก 10.15 % เหลือ 8.5 % และเพิ่ม FRP จากเดิม 3,000 รูปี/ตัน (36.27 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) เป็น 3,500 รูปี/ตัน (42.31 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) ในขณะที่คณะกรรมาธิการน้ำตาล รายงานว่า ณ วันที่ 19 ธันวาคม โรงงานในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ได้จ่ายเงินค่า FRP แล้ว 82 %
           - บริษัท DM Mitsui Sugar ในญี่ปุ่นประกาศขึ้นราคาน้ำตาลเกือบ 3% โดยมีผลตั้งแต่กลางเดือนมกราคมปีหน้า ต่อจากราคาที่เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ซึ่งสะท้อนถึงราคาน้ำตาลโลกและต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น โดยหากขึ้นราคาแล้ว ราคาขายปลีกน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ในมหานครโตเกียว จะเพิ่มขึ้นจาก 228 เยน/กก. (1.72 เหรียญสหรัฐฯ/กก.) เป็น 231 เยน/กก. (1.75 เหรียญสหรัฐฯ/กก.) ในขณะที่สื่อท้องถิ่น รายงานว่า อุตสาหกรรมน้ำตาลญี่ปุ่นกำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ รวมถึงการควบรวมกิจการเพื่อปรับให้เข้ากับการบริโภคน้ำตาลที่ลดลง ส่วนกระทรวงเกษตรในจังหวัดฮอกไกโด กล่าวว่า ภาครัฐกำลังสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกบีทมาปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ถั่วเหลืองและมันฝรั่ง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,473.32 เซนต์ (18.69 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,475.12 เซนต์ (18.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 452.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.64 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 454.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 65.70 เซนต์ (50.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 64.84 เซนต์ (49.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,867 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,847 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,394 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,411 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,009 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  101.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.35 คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 104.01 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 97.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 96.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.23 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.61 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 342 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 368 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 431 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.87 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.46 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.08 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 - 25 ธันวาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 58.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.75 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 81.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.52 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 152.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 156.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่        
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา